Asset Allocation...เราควรรู้ไว้เพื่อการลงทุน
การที่เราจะลงทุนในสินทรัพย์อะไรช่วงเวลาไหน เราควรรู้ six stages of business cycle คือ วัฐจักรของ ธุรกิจหรือของประเทศนั้นๆว่าอยู่ใน stages ไหนและเราควรลงทุนอะไรในประเทศนั้นๆ ทำให้เราเห็นภาพใหญ่ของเศรษฐกิจประเทศและโลก มาดูภาพกันครับ เพื่อความเข้าใจมากขึ้น
จากภาพจะเห็นว่าข่าวการที่สหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ย ถ้าขึ้นได้จริง เราไม่ควรกล้วว่าหุ้นจะตกนะครับ เพราะดูจาก six stages of business cycle แล้ว "สหรัฐขึ้นดอกเบี้ยจริง" แสดงว่าสหรัฐน่าจะเข้ามาอยู้ใน stage 4 แล้วแสดงว่าทุกอย่างกำลังจะดี หุ้นจะขึ้นไปอีกนานพอสมควรเลยละครับ ...พอเอา stage 5 เราก็ขายหุ้น มาเริ่มเก็บสินค้าโภคภัณฑ์ ( Commodity ) แทน..
ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนครับ
Martin J. Pring ผู้แต่งหนังสือ The Six Stages of Business Cycle เริ่มเข้าวงการการเงินตั้งแต่ 1969 ก่อตั้งองค์กรให้บริการวิจัยแก่สถาบันการเงินและนักลงทุนรายย่อยทั่วโลก รวมทั้งหนังสือที่แนะนำวิเคราะห์การลงทุนทางเทคนิคที่แปลมากกว่า 10 ภาษา ปัจจุบันการวิจัยของเขาได้พัฒนาสู่การเป็นของตัวชี้วัดทางการเงินและเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือในการพิจารณาเลือกการลงทุน โดยเขาได้แบ่ง สินทรัพย์เพื่อการลงทุน 3 กลุ่ม ได้แก่ พันธบัตร , หลักทรัพย์ และ สินค้าโภคภัณฑ์ ตามรอบ ภาวะเศรษฐกิจ 6 กลุ่ม ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย,ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสุด ,ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ,ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว , ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ตามแผนภาพ ดังนี้ Source : Figure 2-4 The six stage of a typical business cycle, Analysis Explained Fourth Edition By Martin J. Pring
Stage 1 : ภาวะเศรษฐกิจถดถอย “ลงทุนพันธบัตร” มีการเติบโตเศรษฐกิจลดลง ภาวะการค้าเริ่มซบเซา ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายเริ่มลดการผลิตลง อาจตามมาด้วยการลดต้นทุน เช่น ลดทรัพยากรในการผลิต เลิกจ้างแรงงาน เป็นต้น ประชาชนภาพรวมมีอำนาจซื้อลดน้อยลง การลงทุนที่เหมาสมจะเป็นการลงทุน “พันธบัตร” เพราะมี รัฐบาลค้ำประกัน จึงมี ความปลอดภัยมากที่สุดและให้ผลตอบแทนดีที่สุด หากประสงค์ลงทุนหลักทรัพย์ ควรลงทุนในกลุ่มสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เป็นต้น
Stage 2 : ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสุด “ลงทุนหลักทรัพย์” เป็นภาวะเมฆหมอกดำปกคลุม มองไม่เห็นโอกาศ ไม่มีสภาพคล่องการค้าการขาย ธุรกิจอาจเกิดปัญหาสินค้าค้างสต็อกจำนวนมาก เกิดภาวะการว่างงานกระจายตัวไปทั่ว ประชาชนจึงไม่ค่อยมีกำลังซื้อเพราะมีรายได้ลดลง การลงทุนที่เหมาสมจะเป็นการลงทุน “หลักทรัพย์” เพราะจะซื้อได้ใน ราคาต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง เน้นหุ้นกลุ่มชี้นำการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มหลักทรัพย์ หรือ กลุ่มสินค้าบริโภค เช่น รถยนต์ ,เครื่องใช้ไฟฟ้า , อสังหา ,วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
Stage 3 : ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว “ลงทุนสินค้าโภคภัณฑ์” ภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปเริ่มดีขึ้น ราคาสินค้าเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น การคาดคะเนกำไรขอผู้ประกอบการเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น ธนาคารและสถาบันการเงินโดยรวม เริ่มปล่อยสินเชื่อ เพื่อกระตุ้นการผลิตและการลงทุนของผู้ประกอบการ จังหวะนี้ สามารถเริ่มเข้าลงทุนใน “สินค้าโภคภัณฑ์” เช่น ทองคำ เป็นต้น เพราะ สินค้าโภคภัณฑ์มักปรับตัวก่อนภาวะเศรษฐกิจจริงจาก การคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ หากประสงค์ลงทุนในหลักทรัพย์ ควรเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี หรือหุ้นกลุ่มวัฎจักร (Cyclical stocks)
Stage4 : ภาวะเศรษฐกิจขยายตัว “ลงทุนหลักทรัพย์” บรรยากาศดีทั่วตลาด ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการลงทุนและผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้การลงทุนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การจ้างงานเพิ่มขึ้นมาก มีสภาพคล่องด้านการจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการ เศรษฐกิจจะมีการเจริญเติบโตในอัตราสูง จังหวะนี้ การลงทุน “หลักทรัพย์” และ “สินค้าโภคภัณฑ์” จะอยู่ในภาวะคึกคัก และให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ดีกว่าพันธบัตร ลงทุนได้ในหุ้นทุกกลุ่มที่มีพื้นฐานดี และหุ้นกลุ่มวัฎจักร (Cyclical stocks)
Stage 5 : ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง “เลือกถือหลักทรัพย์บางตัว” ผู้บริโภคที่มีกำลังอำนาจซื้อสูง เป็นช่วงที่มีการจ้างงานอย่างเต็มที่ แรงงานสามารถจะเลือกงานและเรียกร้องค่าจ้างได้ตามที่ต้องการ มีสภาพคล่องการค้าขายการจับจ่ายบริโภคและการท่องเที่ยวสูงสุด สินค้าและบริการมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจนอาจจะก่อให้เกิดเงินเฟ้อ ช่วงเวลานี้ จะเป็นจุด Peak ของตลาดหลักทรัพย์ที่เต็มไปด้วยความโลภและความประมาท แนะนำว่า ควรขายทำกำไรหุ้นบางตัว และเลือกถือหุ้นบางประเภท “หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐาน” เช่น น้ำมัน , “หุ้นกลุ่มวัถุดิบ” ที่ได้รับประโยชน์จากการผลิต และ “หุ้นกลุ่มวัฎจักร (Cyclical stocks)”
Stage 6 : ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว “ถือเงินสด” เป็นภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อ จากการลงทุนการบริโภคเกินกำลังการผลิตของประเทศ GDPประเทศไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นในอัตราลดลง ผู้ประกอบการลดความมั่นใจในการลงทุน ประกอบกับต้นทุนการผลิตโดยรวมที่สูงขึ้นจากภาวะการแข่งขัน สิ่งที่ตามมา อาจเกิดการลดการกำลังการผลิตและอัตราแรงงาน ส่องให้เกิดสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวโดยทั่วไป จังหวะนี้ ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนในแต่ละสินทรัพย์หมดรอบแล้ว และเริ่มเป็นแนวโน้มขาลง แนะนำว่าควรขายทำกำไร และ “ถือเงินสด” แทน เพื่อรอดูการแก้ไขสถานการณ์ของรัฐบาล โดยเริ่มต้นใหม่ที่ Stage 1 อีกครั้ง
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น