Genesis

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ซื้อหุ้นต้องดูทิศทางลม

รู้มั้ย...ทำมัยเวลาเราซื้อหุ้นตามระบบบางที่ก็กำไรบางที่ก็ขา่ดทุน

     เพราะเราไม่ดูทิศทางลมหรือทิศทางของตลาดก่อน...ว่าตลาดเป็นขาขึ้นหรือขาลง...บางคนคิดว่าระบบเทรดของเค้าที่ใช้จะสามารถชนะทิศทางของตลาดได้..คิดง่ายจากที่คนส่วนใหญ่รับรู้คือ 80% ของหุ้นมักจะขึ้นลงเหมือนกับตลาดหรือ SET ถ้าระบบการเทรดของคุณดีจริงถ้าซื้อขายได้ 100% แล้วมาซื้อตอนที่ตลาดขาลงระบบของคุณก็จะแม่นยำเหลือ 20% เพราะจะโดนตลาดหรือ SET ที่ลง 80% กดทำให้ระบบของคุณอาจจะมีความแม่นยำน้อยลง...ดังนั้นเวลาจะเทรดหุ้นให้ดูทิศทางลงก็หรือ SET  เพราะเราเล่นด้านซื้อหุ้นได้อย่างเดียว...เราควรมีเข็มทิศในการสั่งเกตว่าช่วงไหนเราควรเล่นช่วงไหนเราควรพักหรือมีหุ้นในพอร์ตให้น้อยที่สุดหรือไม่ควรซื้อหุ้นเข้าพอร์ต...มาดูตัวอย่างกันครับ


     จากรูปตัวหุ้นอยู่ด้านบน..SET อยู่ด้านล่าง SET เกิดสัญญานขายแล้ว..ถ้าเป็นผม..ผมจะไม่เก็บหุ้นเข้าพอร์ตเพิ่ม SET เกิดการพักฐาน แสดงว่าหุ้นอีก 80% ก็จะเป็นสัญญานคล่ายๆกัน ..ในเวลาอีกไม่นานหุ้นในพอร์ตของคุณก็จะกำไรน้อยลง..หรือขาดทุนจนถึงจุดตัดขาดทุน...ดูจากตัวหุ้นที่อยู่ด้านบนตัวนี้เกิดสัญญาณซื้อแล้ว..ถ้าเป็นผมจะยังไม่ซื้อเข้าพอร์ตผมจะรอดูอาการของ SET ก่อนค่อยหาสัญญาณซื้อที่สูงกว่านี้เพื่อให้มั่นใจมากขึ้น...เวลา SET พักฐานหรือปรับฐานเป็นเวลาที่ดีสำหรับคัดหุ้นเข้าในรายการหุ้นที่เราเห็นว่าดี..ได้กลับไปดูพื้นฐานของหุ้นและคำนวณราคาเหมาะสมหา MOS% และดูว่าหุ้นที่คัดมาเป็นหุ้นที่แข็งแกร่งกว่าตลาดหรือป่าวใช้ CANSLIMหรืออะไรก็ได้ที่เท่าที่ผมมีความรู้  แล้วถ้า SET กลับมา BUY อีกครั้งผมจะไม่ต้องค่อยหาหุ้นอีกก็แค่ซื้อตามสัญญาณในรายการหุ้นที่ได้คัดไว้แล้ว..เวลาเทรดผมจะควบคุมความเสี่ยงที่ผมรับได้เช่นเทรดครั้งนี้ผมจะยอมขาดทุน 5% ของเงินในพอร์ตทั้งหมดและเอามากระจายความเสี่ยงกับหุ้นที่ผมได้คัดไว้แล้ว...แต่ถ้า SET ปรับฐานลงลึกพอร์ตผมจะไม่มีหุ้นอยู่ในพอร์ตเลย..แต่จะมี DW Pulsหรือ Short SingleStock Futuresติดพอร์ตไว้เล็กน้อย เพื่อเอาไว้ลุ้นขาลงของตลาด(แต่ต้องอยู่ในความเสี่ยงที่ผมรับได้)


วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

 ดร. ธีระศักดิ์ ณ ระนอง
       อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินการธนาคาร
       มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
       อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินการธนาคาร       มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)

       

       บทความนี้ขอกลับมาพูดถึงการลงทุนใน Options ครับ หลังจากที่ห่างหายจากเรื่องนี้ไปนาน โดยตามที่ได้ติดตามการซื้อขายใน SET 50 Index Option แล้วสังเกตว่ามีการซื้อขายที่ไม่มากนัก แต่ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่มั่นคงก่อนการซื้อขายจะเพิ่มขึ้นครับ ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือการขาดสภาพคล่อง (Liquidity) ของการซื้อขาย ซึ่งปัจจัยหลักๆ นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ แล้วก็คือการขาดความรู้และความเข้าใจใน Options ทำให้นักลงทุนไม่ค่อยกล้าที่จะลงทุนใน Options มากนัก ฉะนั้นบทความนี้ผมขอเสนอกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับภาวะที่มีการเคลื่อนไหวของราคาและความผันผวนของตลาดอย่างมากให้นักลงทุนได้ศึกษากัน คือ กลยุทธ์แบบ Straddle, Strip, Strap, และ Strangle ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนแบบกลยุทธ์เบื้องต้น เช่น Long Call, Short Call, Long Put และ Short Put
       

       1) Straddle คือ การซื้อ(หรือขาย) call option และ put option อย่างละ 1 สัญญา ที่มีราคาใช้สิทธิ (strike price) และวันครบกำหนดอายุ (expiration date) เดียวกัน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
      
       1.1) Long Straddle คือ การซื้อ call option และ put optionอย่างละ 1 สัญญา ที่มีราคาใช้สิทธิและวันครบกำหนดอายุเดียวกัน เช่น Long S50M08C550 และ Long S50M08P550 (ซึ่งทั้ง 2 สัญญานี้มีราคา premium ที่แตกต่างกัน กล่าวคือต้นทุนของกลยุทธ์นี้จะอยู่ที่ premium ของทั้ง call option และ put option)
       

       กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับตลาดที่มีการเคลื่อนไหวของราคาอย่างมาก ไม่ว่าจะในทิศทางลบหรือบวก 

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

        จากรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์นี้จำกัดการขาดทุน แต่ให้ผลตอบแทนไม่จำกัด (Limited loss & unlimited return)
       

        1.2) Short Straddle เป็นกลยุทธ์ที่ตรงกันข้ามกับ Long Straddle กล่าวคือ การ short call option และ short put option อย่างละ 1 สัญญา ที่มีราคาใช้สิทธิและวันครบกำหนดอายุเดียวกัน เช่น Short S50M08C550 และ Short S50M08P550 

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

        กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับตลาดที่คาดว่าราคาของหลักจะทรงตัว และความผันผวนต่ำ

       

       2)Strip และ Strap      
       2.1) Long Strip คือ การซื้อ (Long) call option 1 สัญญา และซื้อ (Long) put option 2 สัญญา ซึ่งกลยุทธ์นี้เหมาะกับสถานการณ์ที่คาดว่าราคาหลักทรัพย์อาจ เพิ่มสูงขึ้น หรือลดต่ำลงอย่างมาก (โดยมีโอกาสลดต่ำลงมากกว่าเพิ่มสูงขึ้น) 

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

        จากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ของเส้นตอบแทนจะเบนไปทางซ้าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์นี้จะทำกำไรได้มากกว่าเมื่อราคาลดต่ำลง ทำไมรึครับ ดูง่ายๆ เพราะ กลยุทธ์นี้ซื้อ put option มากกว่า ฉะนั้นเมื่อราคาลดลงกำไรก็เพิ่มขึ้นมากกว่า
      
       2.2) Long Strap คือ การซื้อ (Long) call option 2 สัญญา และซื้อ (Long) put option 1 สัญญาซึ่งกลยุทธ์นี้เหมาะกับสถานการณ์ที่คาดว่าราคาหลักทรัพย์อาจเพิ่มสูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างมาก (โดยมีโอกาสเพิ่มขึ้นมากกว่าลดต่ำลง) 

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

        จากรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ของเส้นผลตอบแทนจะเบนไปทางขวา ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์นี้จำทำกำไรได้มากกว่า เมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำไมรึครับ ตรงกันข้ามกับ Long Strip กลยุทธ์นี้ซื้อ (Long) call option มากกว่า ฉะนั้นเมื่อราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น กำไรก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่า
      
       2.3) Short Strip เป็นกลยุทธ์ตรงกันข้ามกับ Long Strip วิธีการก็คือ ขาย (Short) call option 1 สัญญา และขาย (Short) put option 2 สัญญา
      
       2.4) Short Strap เป็นกลยุทธ์ตรงกันข้ามกับ Long Strap วิธีการก็คือ ขาย(Short) call option 2 สัญญา และขาย (Short) put option 1 สัญญา
       ทั้ง Short Strip และ Short Strap เหมาะกับสถานการณ์ที่คาดว่าราคาหลักทรัพย์จะทรงตัว
      
       3) Strangle      
       3.1) Long Strangle คือ การซื้อ (Long) put option ในราคาใช้สิทธิที่ต่ำ และซื้อ (Long) call option ในราคาใช้สิทธิที่สูง ตัวอย่างเช่น Long S50M08P490 และ Long S50M08C510 กลยุทธ์นี้เป็นการจำกัดผลขาดทุนแต่ให้ผลตอบแทนที่ไม่จำกัด (Limited risk & unlimited return) ซึ่งเหมาะสำหรับตลาดที่มีการเคลื่อนไหวของราคาอย่างมาก (ไม่ว่าขึ้นหรือลง) 

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

        สังเกตได้จากรูปที่ 5 จะคล้ายกับกลยุทธ์ Long Straddle แต่ช่วงราคาที่ให้ผลตอบแทนที่ไม่จำกัดนั้นจะกว้างกว่า ฉะนั้นกลยุทธ์นี้จะกำไรเมื่อราคาต้องเปลี่ยนไปมากกว่า และถูกทดแทนด้วยต้นทุนราคาของกลยุทธ์ที่ต่ำ
      
       3.2) Short Strangle คือ การขาย (short) put option ในราคาใช้สิทธิ์ที่ต่ำ และขาย (short) call option ในราคาใช้สิทธิที่สูง ตัวอย่างเช่น Short S50M08P490 และ Short S50M08C510 

กลยุทธ์การลงทุนใน SET 50 INDEX OPTION

        กลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับตลาดที่คาดว่าราคาของหลักทรัพย์จะทรงตัว (unlimited risk & limited return) และความผันผวนต่ำ




วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ปิดประตูเจ๊ง

     ผมเชื่อว่าเทรดเดอร์แทบทุกคนที่เข้ามาในตลาดหุ้นแห่งนี้ หวังจะเป็นเทรดเดอร์ชั้นเซียนที่สามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่องในทุกสภาวะตลาดกันทั้งนั้น แต่คำถามที่ผมเชื่อว่าทุกคนสงสัยก็คือ
      เคล็ดลับการก้าวจากเทรดเดอร์ทั่วไปสู่การเป็นเทรดเดอร์ชั้นเซียนคืออะไรกัน ?
   จากประสบการณ์และการศึกษาของผม ผมพบว่าสิ่งแรกที่เทรดเดอร์ชั้นเซียนให้ความสนใจที่สุด
ก็คือ “การรักษาเงินต้น" เพราะ พวกเขาคิดว่า “ตราบใดที่เงินต้นยังอยู่ โอกาสทำกำไรย่อมมีมาเสมอ"

สำคัญที่การรักษาเงินต้น

    เมื่อเหล่าเทรดเดอร์ชั้นเซียนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "การรักษาเงินต้น" เป็นสิ่งสำคัญอย่างแรกที่พวกเขาคิดถึง นั่นแปลว่า การปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ตการลงทุนของเราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราก็ต้องคำนึงถึงเช่นกัน
   บทความนี้ผมจะบอกเคล็ดลับการปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ตการลงทุนของเราให้ทุกท่านทราบกันครับ
    Risk of Ruin ผมขอแปลเป็นไทยง่าย ๆ ว่า “โอกาสเจ๊ง” เป็นสิ่งที่อธิบายการปิดประตูเจ๊งได้ดีที่สุด เพราะ เป็นสมการในทางสถิติที่ทำให้เราเห็นภาพของตัวแปรสำคัญ ๆ ที่มีผลต่อพอร์ตการลงทุนของเรา สมการ Risk of Ruin มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้ครับ
Investmentory01
โดย     % Win    คือ  จำนวนครั้งที่เทรดแล้วชนะ
            % Loss   คือ  จำนวนครั้งที่เทรดแล้วแพ้
            Unit         คือ  จำนวนครั้งที่เสี่ยงได้ทั้งหมด (เสียติดกันกี่ครั้งถึงเจ๊ง)
ถ้า งง เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ
นาย A อยากรู้ว่าที่ผ่านมากลยุทธ์ที่เทรดไปมีโอกาสเจ๊งไหม
นาย A บันทึกได้ว่า ตัวเองเทรดไปแล้ว 100 ครั้ง ชนะไป 56 ครั้ง แพ้ไป 44 ครั้ง
เวลาเทรดแพ้เสียครั้งละ 20% ของพอร์ต (แพ้ได้ทั้งหมด 5 ครั้ง)
นาย A เอาสิ่งที่จดบันทึกมาแทนในสูตรด้านบนได้ดังนี้
Investmentory02
Risk of Ruin ของ นาย A ได้ 30% แปลว่า “โอกาสที่พอร์ตนาย A จะเจ๊งมีอยู่ 30%” ดูเผิน ๆ เหมือนจะไม่มากแค่ 30% เอง แต่ถ้าเราจะก้าวไปเป็นเทรดเดอร์ชั้นเซียนสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ “การรักษาเงินต้น” อย่างที่กล่าวไปตอนต้นจริงไหมครับ!! นั่นแปลว่า เราต้องทำให้ โอกาสที่พอร์ตจะเจ๊ง เป็น 0 พูดง่าย ๆ คือ ปิดประตูเจ๊งไปเลย
คำถามสำคัญก็คือ แล้วเราต้องทำอะไรบ้าง จึงจะปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ตได้ ?
   เราจะมาวิเคราะห์สมการ Risk of Ruin กัน สมการนี้มีตัวแปรหลัก ๆ ด้วยกัน 3 ตัว คือ %Win, %Loss และ Unit สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เพิ่ม %Win ลด %Loss 2 สิ่งนี้จะขึ้นกับกลยุทธ์ที่ใช้และวินัยของเราครับ สิ่งที่ทำได้อีกอย่างคือ การเพิ่มจำนวน Unit (ลดจำนวนเงินที่เทรดเสียในแต่ละครั้ง) ถ้ายังไม่เข้าใจที่ผมอธิบายเราไปดูตัวอย่างกันอีกครั้งครับ
  หลังจาก นาย A รู้ว่ากลยุทธ์ที่ตัวเองใช้มาตลอดนั้นมีโอกาสทำให้พอร์ตเจ๊งสูง
  นาย A จึงกลับตัวกลับใจ ปรับปรุงการเทรดของตนเอง ให้เทรดได้ปลอดภัยไม่ต้องล้างพอร์ต
   นาย A บันทึกได้ว่า หลังจากเทรดผ่านไป 100 ครั้ง ตนเองยังคงชนะได้ 56 ครั้ง แพ้ไป 44 ครั้งเช่นเดิม (ใช้กลยุทธ์การเทรดแบบเดิม) แต่เวลาเทรดเสียแต่ละครั้ง นาย A เสียครั้งละ 5% ของพอร์ตเท่านั้น (เดิมเสียครั้งละ 20%) เมื่อนำสิ่งที่นาย A บันทึกไว้มาแทนในสมการเพื่อหา “โอกาสที่พอร์ตจะเจ๊ง” จะได้
Investmentory03
    จาก Risk of Ruin ที่ได้จากการปรับปรุงกลยุทธ์การเทรด ตอนนี้ นาย A ปิดประตูเจ๊งของพอร์ตเรียบร้อยแล้ว  นาย A แค่ลดการเสียในการเทรดแต่ละครั้งเท่านั้น (เพิ่ม Unit) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายมากและทำได้ทันที
    แต่สมการนี้เป็นเพียงค่าทางสถิติที่แสดงให้เห็นปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสเจ๊งของพอร์ตเรา เพื่อให้เราได้เข้าใจปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ในสถานการณ์จริงยังมีปัจจัยเรื่องของอารมณ์และสถานการณ์ของตลาดมาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้น การฝึกฝนและวินัยของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
    หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์ก้าวไปเป็นเทรดเดอร์ชั้นเซียนได้เร็วขึ้นอีก 1 ก้าวนะครับ สุดท้ายผมขออวยพรให้ทุกท่านที่ตั้งใจและฝึกฝนอย่างหนักได้เป็นเทรดเดอร์มืออาชีพตามที่ตั้งใจไว้ครับ

ขอบคุณแห่งข้อมูล : http://www.finnomena.com/investmentory/investor-oasis/2016/03/11/10/trader-first-step/